Childline Thailand Foundation
@saidek1387
☎️ 1️⃣3️⃣8️⃣7️⃣ โทรฟรี 2️⃣4️⃣ ชั่วโมง รับฟังทุกปัญหาและพร้อมให้คำปรึกษาเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ด้วยใจ 24 ชั่วโมง
Joined July 2019
198 Following    22.6K Followers
"ผมเคยคิดว่าการเริ่มต้นชีวิตใหม่เป็นเรื่องง่าย แค่ตั้งใจทำงาน แต่ความจริงคือ... ทุกครั้งที่ผมยื่นใบสมัคร สายตาที่มองกลับมามันบอกทุกอย่าง เมื่อเขารู้ว่าผมเคยมีประวัติ" . เด็กและเยาวชนชายขอบจำนวนมากต้องเผชิญกับกำแพงที่มองไม่เห็นเมื่อก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน ไม่ใช่เพราะพวกเขาขาดความสามารถ แต่เพราะสังคมยังติดอยู่กับอดีตหรืออคติที่ผูกติดพวกเขาไว้ . การสมัครงานครั้งแรกสำหรับใครหลายคนอาจเป็นเพียงความประหม่า แต่สำหรับเด็กชายขอบ มันคือการเผชิญหน้ากับอคติที่มองไม่เห็น เมื่อแบบฟอร์มต้องการประวัติการศึกษาที่ต่อเนื่อง เอกสารที่ครบถ้วน หรือที่อยู่ถาวร สิ่งเหล่านี้กลายเป็นอุปสรรคชั้นแรกที่พวกเขาต้องเผชิญ . "ช่วงชีวิตที่หายไป" ในประวัติการศึกษาหรือการทำงาน กลายเป็นคำถามที่ตอบยาก เมื่อความจริงคือพวกเขาอาจกำลังพยายามเอาตัวรอดบนท้องถนน หรืออยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย . เมื่อภาพจำกลายเป็นโซ่ตรวน "เด็กเกเร" "เด็กมีปัญหา" "เคยติดคดี" คำเหล่านี้ไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับตัวตนที่แท้จริง ความฝัน หรือศักยภาพของพวกเขา แต่กลับกลายเป็นตราบาปที่ติดตัวไปทุกที่ . นายจ้างหลายคนปฏิเสธโดยอัตโนมัติเมื่อรู้ว่าผู้สมัครเคยมีประวัติผิดพลาดในอดีต โดยไม่ได้มองว่าหลายคนได้ผ่านการเรียนรู้ พัฒนาตัวเอง และพร้อมจะเริ่มต้นใหม่ด้วยความมุ่งมั่น . ทุกคนสมควรได้รับโอกาสครั้งที่สอง การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากเรา จากมุมมองที่เรามีต่อกันและกัน เด็กและเยาวชนเหล่านี้ไม่ได้ต้องการความสงสาร แต่ต้องการโอกาสที่เท่าเทียม โอกาสที่จะพิสูจน์ตัวเอง . หากเราเชื่อว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เราก็ควรให้พื้นที่สำหรับการเริ่มต้นใหม่ เพราะบางครั้ง โอกาสเพียงครั้งเดียวอาจเปลี่ยนชีวิตใครสักคนได้ทั้งชีวิต . "I used to think starting over would be easy—just work hard. But the truth is... every time I hand in a job application, the look they give me says it all—once they find out about my past." . Many marginalized youth face invisible barriers when entering the job market. It’s not because they lack talent or skills, but because society is still stuck on their past and the prejudices attached to them. . For most people, applying for their first job might just come with a bit of nervousness. But for marginalized youth, it means facing unseen biases. When the application asks for continuous education history, complete documentation, or a permanent address, these become the first obstacles standing in their way. . The “missing years” in their education or work history often come with difficult explanations. The truth is, they may have been struggling to survive on the streets or caught up in legal processes beyond their control. When stereotypes become chains. “Troublemaker.” “Problem child.” “Criminal record.” . These labels say nothing about who they really are, their dreams, or their true potential. But they become invisible scars that follow them everywhere. . Many employers automatically reject candidates with troubled pasts, without recognizing how far these young people have come— the lessons they’ve learned, the work they’ve done on themselves, and the determination they have to start fresh. . Everyone deserves a second chance. Change starts with us—with the way we see and treat one another. These youth aren’t asking for pity. They’re asking for equal opportunity—the chance to prove themselves. . If we truly believe people can change, then we must create space for new beginnings. Because sometimes, just one opportunity is enough to change someone’s life forever. . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF#
1